พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็ก

0

พัฒนาการ หมายถึง การปลี่ยนแปลงด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะ ระบบต่าง ๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้นตลอดจนการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ในทุกด้านของชีวิต และความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมหรือภาวะใหม่ของครอบครัว

พัฒนาการด้านอารมณ์ เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการค้นหาสิ่งใหม่ และความเป็นอิสระของเด็ก ซึ่งอารมณ์ของเด็กในแต่ละวัยก็ยังคงมีเหมือนกันกับเด็กในวัยแรกเกิด เช่น อารมณ์พอใจ ไม่พอใจ ตื่นเต้น โกรธ กลัว สนุกสนาน ร่าเริง และอยากรู้อยากเห็น แต่การแสดงออกจะแสดงอารมณ์ที่รุนแรงกว่าวัยทารก ซึ่งลักษณะทางอารมณ์แบบนี้จะแสดงพฤติกรรมการตอบสนองทางอารมณ์ และการเข้าสังคมนั้นในช่วงแรกมักจะอยู่กับประสบการณ์จากครอบครัว และผู้ใกล้ชิด การเรียนรู้ของเด็กจะตอบสนองและเริ่มเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ตัวเอง โดยการใช้เหตุผลในการตัดสินใจ รวมทั้งอารมณ์ความรู้สึกที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ปัจจุบันนี้พบว่าเด็กที่จะประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเฉลียวฉลาดของสติปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่มาควบคู่กับการศึกษาอีกด้วย เด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกให้เป็นที่ยอมรับของสังคม กระบวนการปรับตัวจึงเข้ามามีบทบาทในการแสดงอารมณ

พัฒนาการด้านสังคม ในวัยนี้ เด็กมักจะมีความสามารถในการสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนเล่นได้ โดยที่เรานั้นจะสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กวัยนี้ได้ และเกิดความภาคภูมิใจในตนเองขึ้นความสามารถทำหน้าที่ตามบทบาทของตนร่วมกับเพื่อน ๆ ได้ ความรับผิดชอบและมีความเป็นตัวของตัวเองในเด็กนั้นคือความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ประสบการณ์สังคม การให้และรับ แต่เด็กในวัยนี้
อาจมีความขัดแย้ง ทะเลาะกันกับเด็กคนอื่น ๆ แต่เหตุการณ์จะเกิดเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเด็กนั้นโกรธง่ายหายเร็ว

พัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กในช่วงเริ่มต้นวัยเด็กก็ยังมีความสัมพันธ์เฉพาะกับคนในครอบครัว และยังยึดติดตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่เมื่อเข้าสู่วัยอนุบาล เด็กจะเริ่มมีความสัมพันธ์กับคนภายนอกมากขึ้น เช่น

การเล่นการทำกิจกรรมต่างๆช่วยพัฒนาการทางด้านสังคม การเล่นทำให้เด็กได้มีโอกาสความสัมพันธ์กับผู็อื่น เพื่อที่จะช่วยให้เด็กนั้นมีโอกาสเรียนรู้วิธีการเข้าสังคม เรียนรู้การที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นทำให้ตัวเด็กมีเพื่อนเยอะขึ้น นอกจากนั้นถ้าหากพ่อกับแม่สังเกตพฤติกรรมขณะที่เด็กกำลังเล่นหรือทำกิจกรรม พ่อกับแม่จะสังเกตเห็นว่าเด็กจะเรียนรู้การรอคอย และเรียนรู้วิธีเล่นกับผู้อื่น เรียนรู้การแบ่งปันของเล่นให้แก่เพื่อน ๆ ในกลุ่มทีเล่นอยู่
ด้วยกัน บางครั้งก็เป็นผู้นำในการเล่นเครื่องเล่นหรือของเล่นต่างๆ อีกทั้งยังรู้จักรักษากติกาการเล่น รู้จักแพ้ชนะ ซึ่งรู้จักปรับตัวในสังคมได้ดีเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

การพาเด็กไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน เช่น พาไปเที่ยวสวนสัตว์ ขณะที่เดินดูตามกรงสัตว์ เด็กจะเห็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน การแบ่งปันอาหารกัน ซึ่งทำให้เด็กได้รู้จักสังคมนอกบ้านมากยิ่งขึ้น โดยพ่อแม่ได้พูดคุยสอนเด็กถึงการอยู่ร่วมกันของสัตว์ การพึ่งพาอาศัยกัน การแบ่งปันการเสียสละ ซึ่งเด็กจะได้เห็นด้วยตนเองเป็นการศึกษาจากของจริงเด็กจะค่อยๆเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็ก

การพาเด็กไปพบญาติพี่น้อง เพื่อเป็นการเข้าสังคม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข กับการที่พ่อแม่พาไปบ้านเพื่อน หรือบ้านของพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเดียวกัน ให้เด็กนั้นได้อยู่ร่วมกันเพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักการอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่น รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น

สรุปได้ว่าพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมนั้นคือ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรมและปฏิกิริยาของมนุษย์ให้สอดคล้องกับแบบแผนที่สังคมนั้นยอมรับและปฏิบัติตได้อย่างเหมาะสมกับบทบาททางสังคม การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม สำหรับเด็กเริ่มจากครอบครัวให้เด็กได้เล่น หรือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ กับผู้อื่น พาเด็กไปเที่ยวให้เด็กรู้จักสังคมนอกบ้าน พาเด็กไปพบญาติพี่น้อง ให้เด็กได้อยู่ร่วมกับเพื่อน เพื่อให้เด็กรู้จักการปรับตัว
เข้ากับบุคคลอื่น และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข

แหล่งอ้างอิง
Mind Brain and body, 2015. การพัฒนาทักษะทางสังคมสําหรับเด็กแต่ละช่วงวัย: mindbrainchildactivity.
ออนไลน์. สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต, http://www.mindbrainchildactivity.com/articles/42259860
นพรดา คําชืlนวงศ์, 2020. พัฒนาการและพื้นฐานอารมณ์เด็กปฐมวัย – เพื่อการเติบใหญ่อย่างมีคุณภาพ:
researchcafe. ออนไลน์. สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต, https://researchcafe.org/development-and-temperament-ofearly-childhood/
เจ้าของร้าน, 2019. พัฒนาการเด็ก ด้านสังคม: brainkiddy. ออนไลน์. สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต,
http://www.brainkiddy.com/article/{4/พัฒนาการเด็ก-ด้านสังคม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *