เชือดเพื่อเซ่นสรวง…ประเพณีเลี้ยงดง ปู่แสะ-ย่าแสะ
“ล้านนานับถือผี?”
“ทำไม…ต้องเลี้ยงผี??? เค้าเลี้ยงไว้ทำอะไรอยากรู้ มีประโยชน์ยังไงบ้าง อยากรู้ครับ”
ผู้ใช้ Pantip รายหนึ่งโพสต์ข้อความตั้งคำถามที่เกี่ยวกับการเลี้ยงผีที่เป็นหนึ่งในประเพณีที่ถูกปฏิบัติมานาน
ของชาวล้านนาที่การนับถือผีมีเรื่องราวและตำนานต่างๆที่ถูกสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย
แต่บางครั้งการสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมไปถึงรุ่นหลานมักจะผ่านทางเรื่องราวตำนานที่น่าสนใจบทความนี้จะเล่าเรื่องราวของประเพณีเลี้ยงดง ปู่แสะ ย่าแสะ ก็เป็นหนึ่งในประเพณีที่มีความน่าสนใจในชุมชนของชาวล้านนา
ดวงวิญญาณพิทักษ์ผืนป่า
การเซ่นสรวงดวงวิญญาณผีในป่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาหลายร้อยช่วงอายุคน ซึ่งถูกเรียกว่า ประเพณีเลี้ยงดง
โดยคำว่า “ดง” เป็นภาษาพื้นเมืองในทางภาคเหนือที่มีความหมายว่า ป่าไม้
จากความเชื่อของชาวล้านนาที่เชื่อว่า “ป่าเป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่งมีชีวิต” สภาพแวดล้อมในป่าได้สร้างทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น พืชพันธุ์สัตว์ต่างๆ ตลอดจนเป็นต้นนำในการหล่อเลี้ยงชีวิต ให้อุปโภค บริโภค ซึ่งตามความเชื่อ
ในการจัดพิธีดังกล่าว ซึ่งตามความเชื่อในการจัดพิธี จะก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ฝนตกตามฤดูกาล
และผู้คนไม่เจ็บไข้ได้ป่วย พืชผลทางการเกษตรได้ผลผลิตดีตลอดปี
ตำนานผีปู่แสะ-ย่าแสะ : ยักษ์ผู้คิดกลับใจ
ปัจจุบันบริเวณลานหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ที่ 4 เชิงดอยคำด้านทิศตะวันตก หมู่ 3 บ้านป่าจี้
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในสถานที่สำหรับการทำพิธีเลี้ยงดง ของชาวล้านนา ที่นักท่องเที่ยวและผู้คนในท้องที่ต่างให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับตำนานผีปู่แสะ-ย่าแสะ
ผีปู่แสะ-ย่าแสะ เป็นชื่อที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม และตำนานวัดดอยคำกล่าวกันว่าทั้งคู่เป็นยักษ์สามีภรรยา อาศัยอยู่ที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงบริเวณนั้น
ปู่แสะ-ย่าแสะและบุตรได้พยายามจะจับพระพุทธเจ้ากิน แต่ก็ถูกพระพุทธองค์ทรมานจนยอมแพ้และให้ถือศีลปู่แสะ-ย่าแสะ พยายามขออนุญาตกินมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งพระพุทธองค์มิได้ทรงยอมทำตาม แม้จะขอกินเลือดมนุษย์เพียงหนึ่งหยดก็ไม่ได้รับอนุญาตเช่นกัน จนท้ายสุดปู่แสะ-ย่าแสะก็ขอกินควายเขาฅำ(ควายที่มีลักษณะเขายาวไม่เกินใบหู)ซึ่งพระพุทธเจ้าก็สั่งให้ทั้งสองไปขอกับเจ้าเมืองเอาเอง
แต่บางทฤษฎีก็แสดงความคิดเห็นว่าปู่แสะ-ย่าแสะเป็นผีของลัวะที่กลายมาเป็นผีประจำเมืองเชียงใหม่ โดยทำหน้าที่คุ้มครองดูแลบริเวณภายนอกเมือง โดยในอดีตการเลี้ยงควายมี 2 แห่ง แยกกันคือปู่แสะอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ(ดอยเหนือ) ติดกับลำห้วยฝายหินปัจจุบันเป็นที่ตั้งของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และย่าแสะบริเวณดอยคำ
ริมน้ำแม่เหียะ(ดอยใต้)แต่ละแห่งเลี้ยงที่ละ 1 ตัว ภายหลังรวมมาเป็นเลี้ยงที่เดียวซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบันอยู่ในบริเวณหน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติแม่เหียะ โดยป่าไม้ บริเวณดังกล่าวเป็นต้นน้ำของลำห้วย ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตคนในนี้ได้สร้างความสมดุลให้กับชาวเชียงใหม่หลายร้อยปีมาแล้ว
ประเพณีเลี้ยงยักษ์ : การบวงสรวงด้วยเนื้อสด
ประเพณีเลี้ยงยักษ์ หรือเลี้ยงดง มีการฆ่าควายบวงสรวงเลี้ยงยักษ์ มีร่างทรงมาประทับร่างทรง และมีการกินเนื้อ
และเลือดสด การทำแบบนี้เพื่อไม่ให้ปู่แสะย่าแสะให้ดลบันดาลฟ้าฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล สมัยก่อนคนชอบทำการเกษตร
เป็นอาชีพต้องอาศัยน้ำฝนหล่อเลี้ยง เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนก็จะมีการเลี้ยงปู่แสะย่าแสะจะมีการบวงสรวงด้วยเนื้อสด
ที่มาของปู่แสะย่าแสะยักษ์ที่ชอบกินเนื้อมนุษย์เป็นอาหารเมื่อกินจนพอแล้วผีปู่แสะย่าแสะก็กราบไหว้ภาพพระบฏแล้ว
ออกร่างทรงไป ในเหตุการณ์นี้มีการสันนิษฐานไว้ว่าอาจไปเชื่อมโยงกับสังคมลัวะบรรพกาลที่นับถือธรรมชาติ เช่น สังเวยสัตว์ให้กับผีหรือเทพของตนเอง จนได้นับถือพุทธศาสนาถึงยกระดับสังคมขึ้น จึงเลิกการฆ่าสัตว์และปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม ดังเช่น ผีปู่แสะย่าแสะหยุดกินเนื้อควายดิบเมื่อเห็นภาพระบฏ ส่วนเนื้อควายที่เหลือจากการเช่นสังเวยก็จะแบ่งปันไปยังหมู่บ้านละแวกใกล้เคียงที่มีส่วนร่วมในพิธีกรรมนี้
ในขณะที่จัดพิธีกรรมในปี พ.ศ.2561 กลุ่มเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ นำโดย นายธีรศักดิ์ รูปสุวรรณ
ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ และ นางคำสีดา แป้นไทย กลุ่มเฮาฮักเจียงใหม่ ได้นำภาพถ่ายและข้อความพร้อมตะโกนบอกผีปู่แสะยักษ์พิทักษ์ดอกสุเทพให้ช่วยดลบันดาลให้ผู้มีอำนาจเหนือหมู่บ้านป่าแหว่ง หรือบ้านพักตุลาการเชิงดอยสุเทพให้คืนผืนป่า
กลับสู่ดอยสุเทพดังเดิม หากสำเร็จชาวเชียงใหม่จะถวายควาย 1 ตัวในปีต่อไป ซึ่งร่างทรงผีปู่แสะได้เพ่งมองและพยักหน้ารับรู้ จากนั้นก็เดินไปให้พรแก่ชาวบ้านที่นั่งเรียงรายรออยู่
ร่างทรงของยักษ์
“เริ่มแรกหนา ยายเหมือนกิ๋นข้าวบ่าลำ..เป๋นเบื่อผัวเบื่อลูก ซักแป๊ปเปิ้นมาเข้เฮามาฮื้อเปิ้นยอมฮับ บ่าอั่นจะเอาต๋าย ยายเป็นตอนแรกกินข้าวไม่อร่อย เบื่อผัว เบื่อลูก เรามาเป็นเราต้องให้เขามายอมรับ ถ้าไม่รับเขาจะเอาถึงตาย”
บทสัมภาษณ์ของคุณยายประกายคำ สมใจอ้าย ชื่อเล่น คำ ยายประกายคำเล่าไว้ว่า ตัวคุณยายมีอาการผิดปกติมาระยะหนึ่ง เลยต้องยอมรับร่างทรงเข้ามาในร่างเพื่อให้รอดพ้นจากอาการป่วยจะได้ไม่ตาย
“เขียนจื่อคนที่จะมาเอาขวัญคนไข้ ถ้าเขาเจื่อยายจะเห็นเป้นตัวเขาเลยถ้าบ่าเจื่อก็ก็จะเห็นกะเสื้อผ้า”
“ขวัญ” สิ่งที่แสดงถึงความเคารพแลพรับการคุ้มครองที่ไม่สามารถจับต้องได้ เรียกอีกอย่างว่า พิธีการรับขวัญ เป็นความเชื่อว่าหากเรารับขวัญกับสำนักหรือร่างทรงแล้ว ก็จะมีผู้ที่คุ้มครองเราตลอดเวลาหากเราศรัทธาและเชื่อว่าเขามีจริง ยายประกายคำยังเล่าอีกว่า ตัวยายได้มาเป็นร่างทรงเคยมีคนมาขอขวัญจากยายไปให้ภรรยาแต่ตัวยายกลับมองไม่เห็นภรรยาผ่านนิมิตของยาย ยายจึงบอกไปว่าหากภรรยาของเขาไม่เชื่อว่าท่านมีจริงก็ไม่มีใครมาคุ้มครองหรอก แสดงให้เห็นว่านอกจากพิธีกรรมเครื่องสักการะที่สามารถจับต้องได้แล้ว ความเชื่อและความศรัทธาก็มีผลต่อการคุ้มครองของของปู่แสะย่าแสะเหมือนกัน
“ประเพณีเลี้ยงดงถือเป็นความเชื่อของชาวเชียงใหม่ โดยเฉพาะชาวบ้านแม่เหียะ ยังเชื่อว่ายักษ์ทั้งสองยังคงสถิตอยู่ในป่าและยังคงแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้เห็นอยู่เสมอ ทั้งสองปู่แสะย่าแสะ คงรักษาป่าดลบันดาล
และประทานความอุดมสมบูรณให้ป่าทั้งสองดอย มีดอยคำและดอยสุเทพให้ฝนตกตามฤดูกาลชาวบ้านทำเกษตรได้ผลดีมีความมั่นคงอยู่ดีมีสุข แต่หากผู้ที่บุกรุกทำลายผืนป่าก็จะมีอันเป็นไป ตายโดยไม่ทราบสาเหตุก็มี”
ประเพณีนี้ถึงจัดเป็นประเพณีขึ้นทุกปีเพื่อขอให้ยักษ์ทั้งสองตนเป็นผู้ปกปักรักษาดงดอยรักษาป่าต้นน้ำผืนสุดท้าย
ในอุทยานดอยสุเทพ ดอยคำ เพื่อเลี้ยงชีวิตชาวแม่เหียะและชาวจังหวัดเชียงใหม่ จนเกิดเป็นพลังศรัทธาสู่การรักษาผืนป่า
ที่ยั่งยืนสืบไป บทสัมภาษณ์ของ นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีตำบลแม่เหียะ ที่แสดงความสำคัญของความเชื่อของการเส้นสรวงผีปู่แสะ-ย่าแสะที่มีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้คนใน ตำบลแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ ว่าจะมีภูติผีที่คอยปกป้องเราหากเรามีการบวงสรวงทำให้ชีวิตผู้คนในบริเวณนั่นมีความสุขในผืนป่าแห่งนี้
แหล่งอ้างอิง
- “ประเพณีเลี้ยงดง บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย” – Thai Rath
ลิงค์: https://www.thairath.co.th/news/local/north/1293921
- “ดงสุทธา ประเพณีเลี้ยงดง” – ศูนย์ภูมิทัศน์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมอเมือง
ลิงค์: https://accl.cmu.ac.th/Museum/contentdetail/2907
- “ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม” – Gebtok Tour Thai
ลิงค์: https://gebtoktourthai.com/archives/1695
- “แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเดือนมกราคม: ศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติ เรียนรู้วัฒนธรรม หนองจ๊อบ สันทราย เชียงใหม่” –
Workpoint Today
4%E0%B8%8D%E0%88%8D%E0%88%B2%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%9|
%81%0%B8%AA%E0%B8%B0-|
%E0%B8%A2%0%B9%88%0%B8%B2%0%89%81%0%B8%AA%E0%B8%B0/|
แหล่งอ้างอิง pantip
ลิงค์ https://pantip.com/topic/36022727
จัดทำโดย
สิริกรวีร์ รุ่งธิติธรรม
ธนรัตน์ แก้วระหัน
มัลฑิกานต์ หลักฐาน
ณัฐชา เครื่องคำ