เมื่อโอกาสที่ได้มาต้องแลกกับเวลาส่วนตัว
ในสังคมไทยยังคงมีความเหลื่อมล้ำในทางชนชั้น ฐานะ หรือแม้กระทั่งอาชีพ มากขึ้นในทุก ๆ วัน โดยปัญหาเหล่านี้เกิดจากระบบทุนนิยมที่ยังคงต้องการสร้างผลประโยชน์ให้กับตนเอง โดยการกดทับประชาชนตัวเล็กในระบบสังคมอุตสาหกรรม หรือ การทำงาน ให้อยู่ภายใต้อำนาจทุนนิยม ซึ่งประชาชนที่ได้พูดถึงนี้ มีทั้งจากชนชั้นกรรมาชีพ พนักงานบริษัท พ่อค้าแม่ค้า หรือแม้กระทั่ง นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการทำงานหาเงินเพื่อหาเลี้ยงชีพ และสานต่อการเรียนเพื่อความฝันของตนเองในอนาคต
ปริมาณงาน ≠ ปริมาณเงิน
การเข้าสู่ตลาดแรงงานของนักศึกษาที่ยังคงอยู่ในวัยเรียนถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะการเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยนั้นหมายถึงการทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนหนังสือ และหาความรู้เพื่อนำไปพัฒนาตนเองต่อไป แต่นักศึกษาบางคนกลับต้องสละเวลาอันมีค่าในการเรียนเพื่อแลกกับการหาเงิน ซึ่งถ้าหากพูดถึงการทำงานระหว่างเรียนแล้ว งานพาร์ทไทม์ก็เป็นหนึ่งในหนทางที่จะสามารถช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายได้
แม้การทำงานพาร์ทไทม์จะเป็นหนึ่งในทางเลือกที่นักศึกษาส่วนใหญ่ตัดสินใจทำ แต่รายได้ที่ได้จากการทำงานเหล่านี้กลับไม่เพียงพอและไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างหลาย ๆ คน เพราะการทำงานพาร์ทไทม์หลาย ๆ งาน ยังคงไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นงานที่ได้รับมอบหมายเต็มตัว อีกทั้งปริมาณงานที่ต้องทำยังมีมากกว่าข้อตกลงในตอนแรก และถึงแม้การทำงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทว่าในกฎหมายกลับไม่ได้ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อมีการมอบหมายงานที่นอกเหนือความรับผิดชอบของลูกจ้าง คนเหล่านี้ก็ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิของตนเองได้
เมื่อการทำงานพาร์ทไทม์ของนักศึกษาไม่ถูกให้ความเป็นธรรม ทั้งรายได้และจำนวนงานที่สวนทางกัน ทำให้การทำงานหาเงินระหว่างเรียนกลายเป็นเรื่องที่เหน็ดเหนื่อยมากขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะต่อให้เราจะลงแรงและเต็มที่กับการทำงานมากแค่ไหน ค่าตอบแทนที่คาดหวังกลับไม่มากพอ เวลาที่เสียไปจากการถูกเอาเปรียบจากนายจ้างนั้นไร้ความหมาย อีกทั้งการมีเวลาว่างพักผ่อนวันหยุดได้หายไป จนคุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาย้ำแย่ลงอย่างที่ไม่ควรจะเป็น
นักศึกษาจำเป็นต้องสร้างรายได้เสริมด้วยตนเองเพื่อเข้าถึงโอกาส การศึกษา และคุณภาพชีวิตที่ดี
นายชัยวัฒน์เหล่า สุขสมบูรณ์ (แบงค์) อายุ 20 ปี ดรอปเรียนเพื่อทำงานเป็นทุนในการเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยด้วยตนเอง มีความสามารถในการเล่นดนตรีและการร้องเพลง ทางานร้องเพลงตามร้านเหล้า และร้านอาหาร เริ่มทำงานตั้งแต่หกโมงเย็นจนถึงเที่ยงคืน โดยจะร้องเพลงทั้งหมด 6 ร้าน ร้านละ 1 ชั่วโมง โดยอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงของวงจะอยู่ที่ 500-1,000 บาท โดยจะแบ่งกันทั้งหมด 4 คน คนละ 125-250 บาทต่อชั่วโมงและได้ทิปจากลูกค้าเพิ่มเติมตาม โอกาสดูเหมือนจะเป็นงานที่สบายไม่เหนื่อยไม่ใช้แรงงานแต่ก็ต้องแลกมากับสุขภาพที่ต้องใช้ร่างกายและเส้นเสียง ติดต่อกันนาน 6 ชั่วโมง
“ตอนอยู่มัธยมปลายผมก็คิดมาตลอดว่าจบไปจะได้เรียนมหาลัยตามช่วงวัยในแบบปกติ ในภาคเหนือนี้หากอยากจะเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับผมก็ต้องเข้าเชียงใหม่ เชียงราย หรือจังหวัดอื่น ๆ พูดแค่นี้ก็มองเห็นภาพค่าใช้จ่ายลอยมาแต่ไกล ค่าที่พักอาศัย ค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าเทอม ครอบครัวของผมไม่ได้มีแรงซัพพอร์ตมากขนาดนั้น ผมจึงตั้งใจทำงานเก็บเงิน เพื่อเอาไว้ซัพพอร์ตในส่วนนี้ “หลายคนมองว่าผมโชคดีที่มีโอกาสหาเงิน แต่ผมกลับมองว่าผมกำลังเสีย โอกาสบางอย่างอยู่เหมือนกัน”
แรงแลกงาน งานแลกเงิน เงินแลกเวลา
นาย นครินทร์ ไชยวาทิน (บาส) อายุ 21 ปี ทางานประจำอยู่ที่ร้าน Buraki ร้านหมาล่าในเมืองลำปาง เข้างานตั้งแต่ 15.00 น. และเก็บร้านเสร็จในเวลาตี 1 ของทุกวัน นายนครินทร์ ไชยวาทิน (บาส) ทำงานควบคู่ไปกับการเรียนที่วิทยาลัยกีฬา จังหวัดลำปาง เพราะต้องส่งตนเองเรียน และช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของที่บ้าน บาสกล่าวว่า ต้องตื่นมาเรียน ตั้งแต่ 8 โมง และเลิกเรียน 4 – 5 โมง ก็ต้องขออนุญาตเข้างานสายกับทางเจ้าของร้าน ส่งผลให้โดนหักค่าแรงไปตามเวลานั้น ๆ การใช้ชีวิตตั้งแต่ 8 โมงสำหรับการเรียน และทำงานจนถึงตี 1 เท่ากับว่าใช้ร่างกายติดต่อกัน 17 ชั่วโมงแบบไม่ได้หยุดพัก ในทุก ๆ วัน บาสจะมีเวลาพักผ่อน เฉลี่ยวันละ 5 – 7 ชั่วโมงเท่านั้น เงินที่ได้มานั้นแลกไม่ได้เลยกับสุขภาพ เวลาในการเรียน การทำกิจกรรมในวิทยาลัย และการใช้ชีวิตวัยรุ่นของตัวเองที่เสียไป
จากบทความ “การเมืองขยับ การศึกษาต้องเขยื้อน : เมื่อการศึกษาไทยไม่อาจเปลี่ยนได้ด้วยความกลัว” ของ The 101.World ได้กล่าวถึงการเติบโตมาในครอบครัวที่ยากจน นับเป็นความเหลื่อมล้ำ และยากที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน หากต้องการเรียนมหาวิทยาลัย คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะหลุดจากการศึกษาตั้งแต่แรก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดนโยบายเรียนฟรี แต่ถึงแม้จะมีนโยบายเรียนฟรี สำหรับครอบครัวที่ยากจน ไม่ว่ารัฐจะอุดหนุนเท่าไรก็ไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาระมากมายที่ต้องรับผิดชอบ หากเด็กได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาจริง ๆ นั่นหมายความว่าพวกเขาต้องแบ่งเวลาสำหรับการเรียนหนังสือ และมิได้มีเวลามาช่วยครอบครัวหารายได้เช่นเดิม เช่นเดียวกับกรณีของแบงค์ ที่สละเวลาส่วนตัวไปปทำงานพาร์ทไทม์เพื่อส่งเสียตัวเอง และหารายได้เพื่อใช้จ่ายในครอบครัว ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไร ภาระที่เขาต้องแบกรับก็มีมากขึ้นเท่านั้น
“ตั้งแต่โตขึ้นผมก็เริ่มรู้ว่าคงไม่ได้ใช้ชีวิตง่าย ๆ สบาย ๆ แบบตอนเด็ก อีกต่อไป เพราะมีหน้าที่ ความรับผิดชอบมากมายที่ เกิดขึ้น เงินที่ต้องใช้มากขึ้นในแต่ละวัน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเข้าถึงการศึกษา และคุณภาพชีวิตที่ดี จริง ๆ เงินที่ทำงาน ได้มาไม่คุ้ม เลยกับความเหนื่อย และเวลาที่เสียไป แต่ในเมื่อเป็นความจำเป็นของเรา และ “ตามกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่ได้เอื้อ ต่อนักเรียนนักศึกษานั้น เราก็จำเป็นต้องยอมเพื่อความอยู่รอดและคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต”
อ้างอิง
thailand-business-news
thepotential
thairath
varasarnpress
reuters
the101.world
เขียน กชกร เรืองพิริยกิจ
เรียบเรียง ลักษณา บุญญาปฏิภา, สิริกร วงศ์กันทะ
พิสูจน์อักษร สุชาลินี สุขุมทอง
ภาพปก หทัยทิพย์ ตารินทร์