New กัญชา in Food

ทุกคนคงเคยได้ยินคำคำนี้ คำว่า “กัญชา” เราได้ยินมาตั้งแต่เด็กและถูกปลูกฝังมาโดยตลอด ว่ากัญชาเป็นยาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี อย่าไปยุ่งกับมันเราทุกคนเลยเลือกที่จะไม่ยุ่งและไม่สนใจกัญชาอีกเลยแต่ในอดีต สมัยกรุงศรีอยุธยา “กัญชา” คือตัวยาที่ใช้ในตำรายาต่าง ๆ

และแน่นอน ตำรายาไทยโบราณบันทึกว่า “กัญชา” หรือบางตำราเรียก “กันชา” เป็นตัวยาหลักของตำรับยานั้น ขณะที่บางตำรับยากัญชาเป็นส่วนประกอบร่วม เช่น ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ตำรา แพทยศาสตร์สงเคราะห์ฯลฯ

จนกระทั่งวันที่ 15 ธันวาคม 2563 มีประกาศออกมาว่า กัญชาไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่5 และเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีประกาศออกมาอีกว่า สามารถใช้สารหรือวัตถุของ กัญชาหรือกัญชง มาผลิตอาหารได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เรื่องนี้ก็กลายเป็นที่ฮือฮาเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้คนหันมาสนใจกัญชามากยิ่งขึ้น

แต่สุดท้ายก็หนีประเด็นที่ว่ากัญชาจะนำมาทำอาหารได้จริงหรือ แล้วจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือเปล่า

จึงมีการทดลองเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่น่าสนใจคือ นำร่องเมนูจากกัญชาโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ นำร่องเมนูจากกัญชากับ 4 เมนูเด็ด รื่นเริงบันเทิงยำ : เติมเต็มทุกคำ สุขล้ำทุกเวลา (มีใบกัญชา 5 ใบ) / เล้งแซ่บซดเพลิน : ช่วยเจริญอาหาร (มีใบกัญชา 1/2 ใบ) / ข้าวกะเพราสุขใจ :กินมื้อไหนก็ไม่เบื่อ (มีใบกัญชา 1/2 ใบ) / ขนมปังคิกคัก : กินเสริมเวลาพัก (มีใบกัญชา 2 ใบ)

แต่เนื่องจากเป็นหน่วยงานนำร่องด้านการพัฒนากัญชาและการใช้ประโยชน์ จึงจัดขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลเฉย ๆ ยังไม่ได้มีการขายอย่างเป็นทางการ

การใช้กัญชาในประเทศไทย จะคล้ายกับของยุโรป คือ นำมาใช้ในการแพทย์ก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงขยายไปด้านอื่น มีการคาดการณ์มูลค่าของกัญชาในปี 2028 ไว้ที่ 123 ยูโร และมีแนวโน้มที่ตัวเลขจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ สอดคล้องกับการใช้ทางการแพทย์ที่อาจจะเพิ่มขึ้น

แต่ปัจจุบันมีร้านอาหารกัญชาที่เปิดขึ้นทั่วประเทศอย่างมากมายและผู้คนให้ความสนใจในการไปลิ้มลองเป็นอย่างมาก และมีเมนูที่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคาว ของหวาน รวมไปถึงเครื่องดื่ม และยังมีร้านต่าง ๆ อีกมากมายทั่วประเทศที่เปิดให้ผู้คนไปลิ้มลอง อาหารกัญชา

ทั้งนี้ ในมุมมองของ คุณผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ ที่พูดถึงอาหารกัญชา รสชาติต่างจากอาหารทั่วไปไหม ?
“เท่าที่พี่กินก็ไม่ได้แตกต่างกันนะคะ ด้วยความที่เราใส่น้อยเราใส่ไม่เกิน5ใบเพราะฉนั้นไม่ได้ส่งผลต่อรสชาติอาหาร”

เห็นแบบนี้แล้วอยากลองชิมกันเลยใช่มั้ยคะ ?
ในทางกลับกันใช่ว่าทุกคนสามารถทานอาหารกัญชาได้ ผู้ที่ไม่ควรกินอาหารกัญชานี้คือ คนท้องให้นมบุตร ผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีผลต่อจิตและประสาท รวมถึงผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตบกพร่อง เด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี อาหารกัญชาเราสามรถทานได้ถ้าเราทานน้อย ๆ มันจะกระตุ้นทำให้เราสดชื่นร่าเริง แต่ถ้าเรากินเยอะกินจนไปถึงจุดนึงมันจะกดประสาทของเราทำให้เรามีอาการซึม แต่ถ้ากินมากกว่านั้น จะมีอาการหลอน เพราะว่าในกัญชามีสาร THC แน่นอนว่ากัญชานั้นคุณสมบัติมากมายและโทษก็มากมายเช่นกัน
เพราะฉะนั้นเราควรใช้มันในทางที่ถูกและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

และเราก็เชื่อว่าการที่กัญชาถูกปลดล็อคให้สามารถนำมาทำอาหารได้ จะสามารถช่วยให้ธุรกิจอาหารเจริญเติบโตและพัฒนายกระดับวงการอาหารขึ้นไปอีก

อีกทั้งยังได้อีก1ประโยชน์นั่นก็คือเรื่องของสุขภาพ แน่นอนว่าหลายคนคงเคยได้ยินว่าทางการแพทย์นำกัญชามาใช้รักษาคน ซึ่งการนำกัญชามาใส่ในอาหารก็จะมีสารอีกตัวคือ CBD จะช่วยในเรื่องของการต้านการเมาเคลิ้ม ควบคุมการปวดและชัก สารออกฤทธิ์เหล่านี้เมื่อรับประทานเข้าไปจะกระตุ้นระบบร่างกายให้ฟื้นฟู เช่น สารเทอร์ปีน ช่วยฟื้นฟูต่อมรับรสกลับมาทำงานดี,ช่วยสร้างเซลล์ร่างกายใหม่และเราจะทำอย่างไรที่จะทำให้สารเหล่านี้ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคำแนะนำอกมาว่า ต้องต้มด้วยความร้อนอุณหภูมิ 122 องศา
เซลเซียส

เพราะการนำใบกัญชามาปรุงอาหาร เมื่อใบกัญชาผ่านความร้อน สาร THC จะออกฤทธิ์มากกว่าเพราะฉะนั้น การปรุงใบกัญชาเป็นอาหารด้วยวิธีการที่ผ่านความร้อนจะต้องระมัดระวัง ยิ่งการนำใบมาผัดผ่านน้ำมันจะยิ่งอันตราย เพราะมีทั้งผ่านความร้อนและน้ำมัน ที่จะทำให้สกัดสารได้มาก อาจมีผลให้ได้สารเมาปริมาณมากขึ้น จึงต้องระมัดระวัง แม้ว่าบางส่วนของกัญชามีร้อยละของปริมาณสารเมาน้อย แต่ถ้าใช้ปริมาณมาก ปริมาณสารเมาก็เพิ่มขึ้นได้ถ้าจะเอาอะไรเข้าสู่ร่างกาย ก็ต้องใช้จากที่ได้มาตรฐานและระมัดระวังอย่างดี

รู้แบบนี้แล้วเนี่ยหากผู้ใดสนใจที่จะไปลิ้มลองอาหารกัญชา ที่หน้าตาน่ารับประทาน ยั่วยวนแบบนี้ละก็ควรที่จะศึกษาหาข้อมูลก่อนว่าเราเข้าข่ายในกลุ่มที่ห้ามทานหรือไม่ หากไม่เข้าข่ายก็ควรเลือกทานให้พอดี ทานให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ Don’t follow your mouth for good health

อ้างอิง

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/society/2011401?fbclid=IwAR32TeUWuW7btFz5HxRMRTtOLvdKFmSFGIuG025Xlr8J9V6LrjipCwdPflE
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/923737
ที่มา : https://www.sentangsedtee.com/career-channel/article_175771
ที่มา : https://www.silpa-mag.com/culture/article_22667

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *