เบื้องหลังระบบการศึกษาที่จัดสรรผู้คนให้เข้าสู่ระบบทุนนิยมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ

0

สังคมแห่งการศึกษาในปัจจุบันกลับกลายเป็นสังคมแห่งการแข่งขันไปจนหมดสิ้นแล้วหรือ? คำกล่าวนี้เห็นได้ว่าจะไม่เกินจริงเนื่องจากตามกระแสข่าวที่ออกมาให้รับชมอยู่มากมายในทุก ๆ วัน จะต้องมีประเด็นข่าวด้านการศึกษาถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนออยู่เนือง ๆ ทั้งการไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ก่อให้เกิดความเครียดของนักเรียนจากการสอบ ขาดโอกาสทั้งทางรายได้และปัจจัยอื่น ๆ

การแข่งขันทางการศึกษาในประเทศไทยช่วยส่งเสริมการเรียนรู้

            เพราะความกดดันทางการศึกษาทำให้ต้องพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง เมื่อเก่งแล้วก็ยังต้องเก่งขึ้นอีก แต่ถ้าไม่ใช่คนที่เก่งหรือสามารถปีนป่ายขึ้นสู่ยอดพีระมิดของการศึกษาได้ ย่อมถูกตีตราว่าไม่มีคุณค่ามากพอต่อสังคม ซ้ำร้ายไปกว่าการถูกคนอื่นตัดสินคือการตัดสินตนเองว่าไม่สามารถพัฒนาตนต่อได้ ไม่สามารถสู้ใครได้ เราต้องเป็นคนเก่ง และไม่เพียงแต่เก่งเท่านั้น แต่ต้องเก่งและเป็นที่หนึ่งในทุกสถานการณ์กระนั้นสังคมจึ่งจะยินดีต้อนรับให้มีพื้นที่ได้แสดงความสามารถ จากที่กล่าวมาก็เห็นได้ชัดเจนว่าหากมองตามขั้นตอนแล้วกว่าจะเกิดกระบวนการแห่งการเรียนรู้ที่ได้รับปัจจัยมาจากการแข่งขัน ด่านแรกที่ต้องผ่านคือประตูแห่งความกดดัน ความเครียด น้อยเนื้อต่ำใจในความสามารถและโชคชะตา ข้อจำกัดในเรื่องฐานะทางครอบครัวก็ยิ่งสร้างกระเป๋าแห่งความกดดันใบใหญ่ไว้บนบ่า ฉะนั้นการแข่งขันอาจไม่ใช่เส้นทางสู่การเรียนรู้ที่ดีที่สุด ไม่มีบทบัญญัติข้อใดระบุว่าต้องทำเท่านี้ถึงเรียกว่าเก่ง ต้องเรียนด้านนี้จึงจะประสบความสำเร็จ ทุกคนล้วนมีเป้าหมายและแนวทางชีวิตที่แตกต่าง การศึกษาไม่ใช่กีฬาที่ต้องรู้ผลแพ้-ชนะเสมอไป แต่การศึกษาควรสร้างแรงบันดาลใจให้เราสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในชีวิตจริงได้ โดยอยู่บนพื้นฐานแห่งความเสมอภาคเท่าเทียมในโลกของประชาธิปไตย

ศักยภาพในการแข่งขันระหว่างโรงเรียนในชนบทกับโรงเรียนในเมือง

            เมื่อพูดถึงความแตกต่างระหว่างโรงเรียนในชนบทกับโรงเรียนในเมือง เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีกำลังแข่งขันทางการศึกษาที่ห่างชั้นกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในด้านทรัพยากร บุคคลากรทางการศึกษา งบประมาณ รวมถึงอุปกรณ์การเรียนที่ไม่เหมือนกัน แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้น  ในอดีตโรงเรียนมีจำนวนน้อยทำให้ประชาชนที่อยู่ในชนบท มีความจำเป็นต้องส่งบุตรหลานของตนไปศึกษาต่อในตัวเมือง เพื่อเป็นใบเบิกทางสู่หน้าที่การงานและอนาคตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่และต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกครอบครัวที่จะมีกำลังในการผลักดันบุตรหลานของตนให้เข้าสู่การแข่งขันทางการศึกษาที่ดีได้ ถึงแม้ตัวเด็กเองจะมีศักยภาพมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้เกิดการจัดตั้งโรงเรียนในชนบทขึ้นเพื่อให้การศึกษาสามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยรัฐพยายามที่กระจายการศึกษาให้เข้าถึงทุกคนในทุกพื้นที่ แต่ถึงกระนั้นการศึกษากลับไม่ได้ทำให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นเลย เนื่องจากความพร้อมที่มีไม่เท่ากัน รวมทั้งการศึกษาในเขตชนบทนั้น ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็น การจัดสรรงบประมาณที่ไม่เท่าเทียมกันก็เป็นส่วนหนึ่ง และอีกอย่างที่ทำให้การศึกษาในชนบทยังไม่สามารถพัฒนาไปได้ทัดเทียมโรงเรียนในเมืองคือ ผู้คนในชนบทบางส่วนก็ยังอยากที่จะให้บุตรหลานของตนจบแค่การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะไม่มีกำลังทรัพย์มากพอที่จะส่งเสียในระดับที่สูงขึ้นไปอีก

เมื่อนำการแข่งขันทางการศึกษาในประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ

            ถ้าหากจะเปรียบเทียบการศึกษาของไทยกับการศึกษาของต่างประเทศแล้วประเด็นที่น่าหยิบยกขึ้นมาพูดถึงคือความต่างทางวิธีคิดและความเชื่ออุดมการณ์ในสังคมไทย เช่นอุดมการณ์ความเป็นไทยที่แฝงฝังอยู่ในระบบกระบวนการผลิตบุคลากรทางการศึกษา ระบบการจัดตั้งโรงเรียนหรือระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในด้านของวัฒนธรรมก็ยังต้องยอมรับว่าสังคมยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในเร็ววัน ก่อนที่เราจะเปรียบเทียบในการมองว่าประเทศเรา เช่น ประเทศไทยกับฟินแลนด์หรือสิงคโปร์หรือประเทศแถบตะวันตกที่มีความเจริญก้าวหน้าด้าน เป็นอย่างไรนั้น ประการแรกต้องพิจารณาและยอมรับระบบการศึกษาภายในประเทศก่อนว่าถูกกำหนดขึ้นมาโดยชนชั้นนำในสังคมไทยที่เป็นตัวกำหนดและการศึกษาไทยถูกกำหนดขึ้นมาโดยที่ไม่ได้มีความเท่าเทียมกันอยู่แล้ว และไม่ได้เกิดขึ้นจากการคิดในเรื่องของสวัสดิการที่มองว่าทุกคนสมควรเท่าเทียมกัน หากมองเชิงประวัติศาสตร์การศึกษาไทยเกิดการก่อตั้งโรงเรียนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้าเป็นต้นมาการเรียนภาษาอังกฤษเพิ่งกำหนดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ห้าแต่การเรียนภาษาอังกฤษยังไม่ใช่พื้นที่สำหรับคนทุกคน แต่เป็นพื้นที่สำหรับชนชั้นสูงลูกข้าราชการลูกขุนนางและชนชั้นนำและการเรียนภาษาอังกฤษหากจะพูดกันโดยง่ายคือ คนที่เป็นไพร่คนทั่วไปมีโอกาสในการเข้าถึงการเรียนภาษาอังกฤษค่อนข้างน้อยและในแง่หนึ่งทำให้ปัญหาตรงนี้ การเรียนภาษาอังกฤษถูกควบคุมโดยความคิดแบบความเป็นไทย ในบางกรณีของการเรียนภาษาอังกฤษทำให้เห็นว่าระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนของสังคมไทยถูกกำหนดขึ้นจากระบบวิธีคิดแบบไทยชนชั้นนำที่สร้างระบบโรงเรียนให้เกิดขึ้นแต่เมื่อพัฒนาการกำเนิดมาเรื่อย ๆ จนถึงประมาณช่วงปลายศตวรรษที่ 20 จนถึงต้นศตวรรษที่ 21คือตั้งแต่ประมาณปี 2540เป็นต้นไป สังคมไทยเริ่มมีวิธีคิดในการรับอุดมการการจัดการศึกษาในแบบเสรีนิยมในแนวลิเบอโล่ลิซึ่มหรือว่าแบบตะวันตก มาเช่นเดียวกันการกำเนิดของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี 2542 เป็นจุดหมายสำคัญของการศึกษาไทยควรจะเป็นพื้นที่สำหรับทุกคนประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศสภาพเชื้อชาติ ศาสนา  วัฒนธรรมและความเชื่อและทุกชาติพันธ์ ทุกคนไม่ว่าคุณจะเป็นใครเมื่อคุณอยู่ในสังคมไทยในรัฐไทยควรจะมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมทั่วถึงเป็นธรรมเช่นเดียวกัน ความพยายามตรงนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบันครบสองทศวรรษไปเรียบร้อยแล้วสิ่งที่ตามมาคือเราก็เห็นว่าปัญหาเรื่องการศึกษาหรือปัญหาทุกอย่างก็ยังคงอยู่จนถึงบัดนี้ แม้บางอย่างจะดีขึ้นแต่ส่วนใหญ่ที่เป็นมรดกมาจากอดีตยังคงไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ สิ่งนี้เองนำมาสู่การมองว่าระบบการศึกษาของสังคมไทยที่เป็นอยู่ในตอนนี้เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศอย่างเช่นฟินแลนด์ หรือสิงคโปร์ เราต้องพูดว่าประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่มีเสรีประชาธิปไตยและเป็นประเทศที่มีวิธีคิด เรื่องรัฐสวัสดิการแต่สังคมไทยยังไม่มีตรงนั้นสิ่งนี้เองเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ คงไม่สามารถบัญญัติคำได้ในเรื่องของวัฒนธรรมและความเชื่อ วิถีชีวิตที่มันส่องสว่างอยู่ในระบบการศึกษาไทยมีความแตกต่างอย่างมากซึ่งเราอาจจะมองคนไม่เท่าเทียมกัน  ซึ่งในสังคมอย่างสิงคโปร์หรือฟินแลนด์เค้ามองคนว่าเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพเป็นประชากรที่ต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมเสมอภาคและสิ่งที่สังคมไทยไม่ได้มองแบบนั้นโดยตรงแต่มีความพยายามของชนชั้นนำในสังคมไทยที่พยามจัดการศึกษานำมาสู่ในยุคปัจจุบันที่พยายามตั้งคำถามกับระบบการศึกษาไทยมากขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *