สะท้อนสภาพสังคมผ่านภาพยนตร์ของเด็กเอ็นทรานซ์
ภาพเด็กชาย 6 คน ที่ก่อกองไฟ นั่งคุยกันที่ริมทะเล บรรยากาศของความเป็นเพื่อน บทสนทนาที่ดูไม่
จริงจังมากนัก แต่แอบแฝงไปด้วยแง่คิด ที่ทำให้คนดูตั้งคำถามตาม ยังคงเป็นภาพตราตึงใจสำหรับใครหลาย ๆ คน แม้ระยะเวลาจะผ่านมา 14 ปีแล้ว ที่ภาพยนตร์เรื่อง Final score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ออกฉาย แต่ชีวิตของเด็กวัยเรียนในปัจจุบันไม่เคยจะเปลี่ยนไปเลย
Final score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ เป็นภาพยนตร์สารคดีที่กำกับโดย โสรยา นาคะสุวรรณ ซึ่งเล่า
เรื่องผ่านชีวิตของเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังเตรียมสอบเอ็นทรานซ์ปี 2548 โดยมีเปอร์ หรือ สุวิกรม อัมระนันทน์ เป็นตัวดำเนินเรื่อง ต้องขอบอกก่อนว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่มีบท แต่เป็นการตามติดชีวิตของเด็กจริง ๆ ตั้งแต่วันที่เปิดภาคเรียน จนไปถึงวันที่พวกเขาสอบติดมหาวิทยาลัย นอกจากการถ่ายทอดชีวิตของเด็ก ๆ แล้ว ยังมีการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของผู้ใหญ่ จากทั้งครอบครัวและโรงเรียน
(อ้างอิงภาพจาก Thaipost.net)
การถ่ายทำ ไม่ใช่แค่ตามติดชีวิตของเด็ก ๆ ไปวัน ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเครียด
ความกดดันที่เด็ก ๆ ได้เจอ ทั้งความเครียดที่คะแนนไม่ดี ความกดดันจากการคาดหวังของครอบครัว และความผิดหวังจากระบบการออกคะแนนของรัฐ แม้จะผ่านมา 14 ปี แต่สภาพสังคมก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม เด็กถูกคาดหวังให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง ให้เลือกคณะที่มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ เงื่อนไขการสอบเข้าของเด็ก ๆ มีเพิ่มมากขึ้นเพราะพ่อแม่ของพวกเขามักจะคาดหวังเสมอ
และด้วยระบบการศึกษาที่ไม่เอื้อหนทางในการเลือกอาชีพให้กับเด็ก ๆ จึงมีเด็กหลายคนที่ไม่รู้ว่าตัวเอง
ชอบอะไร และยังคงหลงทาง ดังเช่นบทสนทนาของเปอร์และเพื่อน ๆ ที่แทบจะไม่มีใครตอบได้เลยว่าตัวเองอยากจะทำอะไรในอนาคต และจากผลการสำรวจของเว็บไซต์ Admission Premium ปี 2561 ก็เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่สะท้อนให้เห็นว่า เด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกว่าร้อยละ 60 ไม่รู้ว่าอยากเรียนอะไรและอยากทำงานด้านไหน
ปัญหาที่เจอและระบบการศึกษาที่ล้มเหลว
ทางผู้เขียนได้ลองไปสำรวจว่าปัญหาของเด็ก ๆ ที่เจอ มันคืออะไรบ้างเราได้ลองพูดคุยกับนักศึกษาจาก
มหาวิทยาลัยจำนวน 2 แห่งทำให้พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของเวลาในการสอบ อย่างเช่น การสอบ GAT PAT ที่เด็กแต่ละคน จะมีจำนวนวิชาที่สอบไม่เท่ากัน แต่ระยะเวลาในการสอบที่กำหนดไว้มักจะใกล้กัน จึงทำให้เด็กพบกับปัญหาในการจัดตารางเวลา เพื่อทบทวนเนื้อหา แต่ยังคงไม่เพียงพอ เพราะรายวิชาเนื้อหาที่มีความแตกต่าง ทำให้เด็ก ๆ หลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับการสอบโดย มณพณัฐ สิวาเกษียรวิ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เล่าถึงความรู้สึกที่มีต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของตัวเอง “เรื่องสอบติดกันทำหนูซัฟเฟอร์มาก ๆ กินเวลาไปตั้งสามอาทิตย์ เกือบเดือนเลย มันนานมาก ๆ เหมือนจะได้พักแต่ก็ไม่”
ซึ่งไม่เพียงเท่านั้น กิดากร อินทรเกษม นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีปัญหาคล้ายกัน แต่ก็มี
อุปสรรคที่เข้ามาเพิ่มอีก อย่างการเรียนรูปแบบออนไลน์ “เป็นเด็ก 64 ค่ะ เจอปัญหาตั้งแต่เริ่มเรียนออนไลน์ทำให้หลาย ๆ อย่างมันก็หนักขึ้น เลยอยากให้มีการเลื่อนการสอบต่าง ๆ ออกไปก่อน เพราะตารางสอบที่ออกมาก็สอบทุกอาทิตย์ติด ๆ กันเกือบเดือนเลย”
หากใครเคยผ่านการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาสิ่งที่ต้องพบเจอเลยก็คือการสั่งงานเพื่อ
เก็บคะแนน “ทั้งตัวหนูและเพื่อน ๆ ก็เครียดมากเลยค่ะอย่างโรงเรียนหนูม.6 ก็มีวิจัยอีกมีเรียนของโรงเรียนตารางแน่นทุกวันอีก ทำให้เตรียมตัวสอบไม่ทันจริง ๆ ค่ะ”ทำให้เห็นว่าการจัดวางเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากสำหรับเด็ก ๆ
ปัญหารองลงมาจะเป็นในส่วนของเรื่องค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวสอบและการสมัครสอบที่ไม่คุ้มค่า
“หมดเงินกับการเรียนพิเศษไปเยอะมาก ๆ เพราะที่โรงเรียนก็ไม่ได้สอน ถึงติวให้ก็ติวแค่นิด ๆ หน่อย ๆ คือเราไม่น่าเสียเงินให้การศึกษาเยอะขนาดนี้ไหมอ่ะคะ มันเป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับฟรี ๆ สิ แล้วค่าสมัครสอบก็ต้องเสียตั้งสองสนามไม่พอยังต้องเสียค่าจัดอันดับอีก คือเยอะเกินไปมาก ๆ แล้วเป็นปัญหาที่ทางหน่วยงานกับรัฐบาลไม่เคยจะแก้ไขเลย”
เมื่อพูดถึงทางหน่วยงานแล้วก็ยังทำให้นึกถึงประเด็นของการประกาศคะแนนสอบผิดด้วย “ในตอน
สอบเข้าก็คงจะเป็นเรื่องของระบบ TCAS ที่ค่อนข้างจะเข้าใจยาก วุ่นวายไปนิดหน่อยครับ แล้วก็เหมือนช่วงนั้นจะมีการประกาศคะแนนสอบผิดด้วย เลยก็ทำให้ยิ่งวุ่นวายไปกว่าเดิมครับ” จากประสบการณ์ของ ธนกร ปัญญาเทพ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำให้มองเห็นในเรื่องของการทำงานของหน่วยงานจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานระดับไหน ความผิดพลาดก็สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งสิ่งที่เราจะวัดได้ว่าการทำงานของหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน คงต้องวัดจากการแก้ไขปัญหาที่ไม่ทำให้นักเรียนที่อยู่ในระบบการศึกษาต้องได้รับผลกระทบอีกนั้นเอง
ระยะเวลาที่แตกต่าง แต่สถานการณ์ยังคงเดิม
เด็ก ๆในภาพยนตร์นับเป็นตัวแทนของเด็กในประเทศไทยที่ต่างหาเส้นทางของตัวเองด้วสภาพแวดล้อม
ของสังคมที่กดดัน โอกาสของเด็ก ๆ ที่จะได้เดินตามสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบนั้นเป็นไปได้ยาก ไม่ใช่เป็นเพราะวาดฝันไว้สูงเกินไป แต่ระบบการศึกษานั้นทำให้เด็กคาดหวังกับฝันน้อยลง การที่ทุกคนไม่รู้ว่าอยากจะทำอะไรในอนาคตไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ เพราะระบบการศึกษาของไทยมักจะสอนให้เด็ก ๆ อยู่ในกรอบ ไม่ใช่แค่ระบบการศึกแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่พื้นฐานสังคมและครอบครัว ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็ก ๆ มักจะหาตัวเองไม่เจอ
คำถามคือแม้ระยะเวลาจะผ่านมา 16 ปีแล้ว ที่เด็ก ๆ เหล่านั้นสอบติดมหาวิทยาลัย แต่ระบบการศึกษา
ของไทยไม่เคยที่จะเปลี่ยนแปลง แม้รูปแบบการสอบเข้าจะเปลี่ยนจากระบบเอ็นท์ทรานซ์มาเป็น ระบบ TCAS แต่หลักสูตรการเรียนการสอนยังคงรูปแบบเดิม ความรู้ในโรงเรียนมีไม่เพียงพอที่เด็ก ๆ จะนำไปสอบ เด็ก ๆ ส่วนใหญ่จึงต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม อ้างอิงจากผลสำรวจเรื่อง “ชีวิตของเด็ก ม.ปลาย สู่รั้วมหาวิทยาลัย” โดย ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี 2557 พบว่ามีเด็ก ม.ปลาย กว่าร้อยละ 60.2 เรียนพิเศษนอกโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ว่าเรียนในห้องเรียนไม่เข้าใจ และเนื้อหาที่เรียนไม่ตรงกับที่จะใช้สอบ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ยืนยันว่าระบบการศึกษาของไทยกำลังจะล้มเหลว
(อ้างอิงภาพจาก Fapot.or.th)
กลับมาที่ปัจจุบัน ด้วยสถานการณ์การแพร่เชื้อโรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่ม
สูงขึ้นเรื่อย ๆ สถานศึกษาไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้จึงต้องมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ก็ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการสอนลดลง ทุกคนแม้กระทั่งตัวนักเรียน นักศึกษา ครู พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ก็ต้องปรับตัวตามสถานการณ์ แม้จะพยายามปรับตัวกันสักแค่ไหน แต่เรื่องนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็ก ๆ
เนื่องจากบางครอบครัวไม่มีความพร้อมในเรื่องการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์และบาง
สถานศึกษาไม่ได้วางแผนในการรองรับ สำหรับเด็กที่ไม่มีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ อาจส่งผลให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ถึงแม้จะมีระบบ TCAS ที่พัฒนามาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเด็กนักเรียน แต่คุณภาพของระบบก็ยังไม่ดีพอ และยังมีข้อผิดพลาดอยู่ทุกปี เช่น ค่าสมัครแพง เว็บไซต์ล่ม และการคำนวณคะแนนวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) ผิดพลาด (อ้างอิงจาก BBC News)
ทั้งหมดทั้งมวลที่บรรยายมานั้นก็เพื่อสะท้อนให้ถึงระบบการศึกษา ระบบสังคม และสถาบันครอบครัว
เมื่อ 14 ปีที่แล้ว และปัจจุบัน ว่ากำลังย่ำอยู่กับที่ ซึ่งมีผลต่อเด็ก ๆ ในการเลือกอาชีพของตัวเอง เด็ก ๆ ควรที่จะมีทางเลือกในการประกอบอาชีพได้มากกว่านี้ และควรได้รับแรงสนับสนุนที่ดีจากคนรอบข้าง แรงสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเลือกเส้นทางของตัวเอง จากสิ่งที่ตัวเองถนัด ชื่นชอบและสนใจที่สุด
Info graphic ความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย