หนี้สาธารณะ + งบพระมหากษัตริย์ = การจัดสรร
จากข้อมูลในภาพอินโฟกราฟฟิก เราจะเห็นได้ว่าการจัดสรรงบประมาณของไทยนั้นมีการกู้เงินจากต่างประเทศมาเพิ่ม เนื่องจากงบการคลังในประเทศเกิดการขาดดุล โดยที่รายรับมีน้อยกว่ารายจ่ายทำให้รัฐบาลต้องกู้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อมาอุดช่องว่างนั้น ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นยุคของรัฐบาลนายก พล. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการกู้หนี้สาธารณะไปแล้วสูงถึงประมาณ 8.6 ล้านล้านบาท นับเป็นร้อยละ 55 ของ GDP ในประเทศ และนำเงินไปจัดสรรแบ่งเป็นงบประมาณให้กับส่วนต่าง ๆ ส่วนหนึ่งจะมีการแบ่งงบไปในส่วนของพระมหากษัตริย์ประมาณ 20,309 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2564 และในปี 2565 ประมาณ 18,432 ล้านบาท และจากสถานการณ์โรคระบาด โควิด -19 ในขณะนี้ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ และได้คร่าชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก แต่งบประมาณในส่วนอื่นนั้นกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่นงบสาธารณะสุข ที่นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในช่วงสถานการณ์โควิด -19 นี้ โดยเปรียบเทียบระหว่างปี 2565 ประมาณ 153,940.5 ล้านบาท และปี 2564 ประมาณ 158,278.6 ล้านบาท โดยลดลงร้อยละ 10.8 ทำไมให้เราต้องมาตั้งคำถามว่าการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลในส่วนนี้นับว่าเหมาะสมหรือไม่ ทางภาครัฐจะมีมาตรการมาเยียวยาประชาชนจากพิษโควิดนี้ในรูปแบบไหน และประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการกู้ยืมเงินนี้อย่างไร นับว่าเป็นที่เรื่องที่ทุกคนต้องติดตามกันต่อไป