ไลฟ์สไตล์ใหม่ ที่อาจไม่ใช่กับสุขภาพ

“ทำไมกลุ่มโรค NCDs ถึงสัมพันธ์กับโรคโควิดเพราะว่าช่วงที่โควิดเข้ามา ทำให้คนเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงทำให้เราได้ตระหนักได้แล้วอาการรุนแรงของมันจริงๆ แล้วมันไม่ได้เป็นกับแค่โรคโควิด 19 มันเป็นกับทุกโรคติดเชื้อได้เลยแต่แค่มันชัดเจนมากในช่วงโควิด เท่านั้นเอง”

“Covid-19 มันเข้ามาเตือนเราครับว่าเห้ยมนุษย์คุณจะต้องเปลี่ยนตัวเองนะครับอย่าทำแบบนี้ มนุษย์เราอ่ะเสียสมดุลในร่างกายมานาน”

ดังนั้นเราจึงควรสร้างพฤติกรรมที่ดีก่อนเพราะว่าสำหรับโรคร้ายแล้ว “คุณเองก็ไม่ได้โชคดีเสมอไปครับ”

นายแพทย์ บัญชา ใจตรง ผู้อำนวยการดรงพยาบาลเชียงใหม่ฮอสพิทอล

โรคเรื้อรัง กับความสัมพันธ์ โควิด – 19

                โรคเรื้อรัง (NCDs) กับโควิด 19 (COVID-19) อาจเป็นส่วนหนึ่งที่เรามักไม่ค่อยสนใจกันมากนัก แต่ในความจริงแล้วทั้งสองอย่างกลับมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่น่าเชื่อจากการเข้ามาของสถานการ การแพร่ระบาดโควิด 19 ในครั้งนี้  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมของเราไปอย่างสิ้นเชิง จนบางคนได้ให้คำนิยามกับสถานการณ์นี้ว่า “การเปลี่ยนผ่านของยุค หรือคือยุคโควิด”

                ที่ได้กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมากจากการเปลี่ยนผ่านของยุค อาจทำให้เกิดการปรับตัวทางพฤติกรรมที่กระทันหัน ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาอย่างการเป็นโรคเรื้อรังในกลุ่ม NCD หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผลพวงปัญหาสุขภาพสะสมจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเรา

                “เรื่องของโรคเรื้อรังจะสัมพันธ์กับโควิดยังไง ก็แน่นอนพอเราเป็นโรคเรื้อรังอันหนึ่ง ที่ทางการแพทย์เนี่ยถือเลยว่ากลุ่มที่เป็นโรคเรื้อรังจะเป็นกลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอีกในกลุ่มหรือโรคติดเชื้อตามมา ไม่ใช่แค่โควิด โรคปอดอักเสบอื่น ๆ เราถือว่าคนไข้กลุ่มนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเขาจะไม่ดีและมันจะลดต่ำลงมา จะติดเชื้อง่าย “

นายแพทย์ บัญชา ใจตรง ผู้อำนวยการดรงพยาบาลเชียงใหม่ฮอสพิทอล

ไลฟ์สไตล์ กับ โรคเรื้อรัง

                ไลฟ์สไตล์ใหม่การอยู่บ้านมากกว่าการออกไปข้างนอกเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพที่จะตามมา อย่างโควิด19 (COVID-19) ที่เคยเป็นปัญหาใหญ่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา การอยู่บ้านจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตจึงมาพร้อมกับการปรับตัว ปรับวิถีชีวิตใหม่หลาย ๆ คนจึงผุดไอเดียการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรียนแบบออนไลน์, การทำงานแบบ Work From Home, การกิน การนอน, การสร้างงานอดิเรกใหม่ ๆ ทั้งการออกกำลังกายอยู่บ้าน วิธีกำจัดความเครียดเมื่อต้องอยู่แต่ในบ้าน ในด้านการรับประทานอาหารต่าง ๆ ที่ซื้ออาหารจากนอกบ้านเปลี่ยนเป็นการสั่งผ่านแอพเดลิเวอรี หรือทำอาหารกินเองที่บ้านแทนการออกไปข้างนอก การรักษาและการตรวจสุขภาพด้วยตัวเองผ่านอุปกรณ์ทางการแพทย์เบื้องต้นแบบพกพา

เทคโนโลยีกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

                คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของเรามากยิ่งขึ้น และแทบจะอยู่ในทุกช่วงเวลาการใช้ชีวิตของเรานับตั้งแต่การเข้ามาของโควิด 19 (COVID-19) ไม่ว่าการเรียน การทำงาน อาหารการกิน หรือการปฏิสัมพันธ์กันในสังคม ล้วนแล้วแต่กลายเป็นรูปแบบออนไลน์ผ่านแอพลิเคชั่นแล้วทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ได้ตามมาคือการเปลี่ยนในพฤติกรรมด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ลดลง นั่ง และนอนมากขึ้นจากความสะดวกสบายเพียงแค่เราขยับนิ้วทำให้อัตราการเป็นโรคในกลุ่ม ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) โรคไมเกรน โรคกรดไหลย้อน และโรคซึมเศร้าที่พบมากขึ้นจากเดิมในกลุ่มวัยรุ่น จึงเป็นสิ่งที่เราเลี่ยงไม่ได้กับวิถีชีวิตใหม่ของยุคที่เปลี่ยนเราจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน NCDs กับโควิด 19

                การเข้ามาของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการรักษาสุขภาพมากยิ่งขึ้น และเกิดเป็นไลฟ์สไตล์การดูแลสุขภาพรูปแบบใหม่ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย, การรักษาสุขภาพจิต, การเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ที่สำคัญที่สุดคือการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยตัวเลือกอาหารการกินที่มีอย่างหลากหลายในปัจจุบัน ผู้คนจึงเลือกปรุงอาหารกินเองมากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง และคนรอบข้าง

5 อ. เครื่องมือปรับพฤติกรรม

                “5 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อดิเรก และอนามัย ในคนไข้หลาย ๆ รายที่เป็น NCDs มันก็มีสารตั้งต้นจากพฤติกรรมที่แย่อยู่แล้ว 5 อ. นั่นแหละ “

นายแพทย์ บัญชา ใจตรง ผู้อำนวยการดรงพยาบาลเชียงใหม่ฮอสพิทอล

                5 อ. จริง ๆ แล้วคือเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและยกระดับสังคมผู้สูงอายุ จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว หากไม่มีการรับมือด้านความพร้อมอาจเกิดผลกระทบที่ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุในประเทศไทยมีคุณภาพด้านสุขภาพที่ต่ำ และในวันที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคการแพร่ระบาดของโควิด 19 (Covid-19) ที่ได้สร้างปัญหาด้านสุขภาพอย่างใหญ่หลวงให้กับเราไม่ว่าจะเป็นคนในกลุ่มใดก็ตาม ทำให้ยิ่งเป็นเครื่องย้ำเตือนในปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เราต้องแก้ไข เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพเรื้อรังที่อาจตามมาจากปัญหาพฤติกรรมของเราเอง

NCDs และโรคโควิด-19 จึงมีความสัมพันธ์กันในทางทฤษฎีการป้องกัน และการดูแลสุขภาพ เราควรใส่ใจพฤติกรรม และรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการเป็นโรค NCDs ให้มีผลกระทบต่อชีวิตของเราเองและชุมชนให้น้อยลง

ผู้เขียน : คุณานนต์ ริ้วพงษ์กุล และ ชุติพงษ์ สาวฤทธิ์

อ้างอิง : โรงพยาบาลเชียงใหม่ฮอสพิทอล