สุขภาวะที่เราเลือกไม่ได้
คนจนผู้ยิ่งใหญ่ “จนสิดี หากเรารู้ค่าของเงินทองเเล้ว เราก็จะสามารถหามันมาได้อย่างไม่ยากนัก” คนรวยมักจะพยายามที่จะป้อนชุดความคิดเหล่านี้ให้กับเรา ทิ้งท้ายด้วยบทเรียนที่เราคุ้นชินว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั้น” เเท้จริงเเล้วเรานั้นกำลังตกอยู่ในกับดักความยากจน ของหมู่นายทุน โลกของทุนนิยม ที่ซึ่งไม่ได้สวยงามอย่างที่เราคิด ในระหว่างปีพ.ศ.2551-2561 สินทรัพย์ของคนไทยทั้งประเทศ 77% ไปกระจุกรวมอยู่กับกลุ่มเศรษฐีคนไทยเพียง 10%เท่านั้น วิกฤตโรคภัยส่งผลกระทบอย่างมากกับผู้คนทั้งโลก คนจำนวน 10% นั้นยังสามารถพออยู่รอดล้มบนฟู้สู้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่า แล้วอีก 90% ของคนไทยนั้น เป็นอย่างไร และแน่นอนว่าจะต้องมีคนจำนวนไม่น้อย ที่เกิดรอยแผลภายในจิตใจ ที่ว่าทำไม คนเราจึงเลือกที่จะเกิดไม่ได้
ในโครงการวิจัยเรื่อง “สุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัยในที่อยู่อาศัย” คุณเมธาวี อื้ออารีย์กุล และ คุณกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ได้ให้นิยามคำว่าสุขภาวะว่าเป็น ภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิตใจ สังคม และปัญญา เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล นอกจากนี้ยังมีคำนิยามสุขภาวะ จากการศึกษาวิจัยโดย บัวพันธ์ พรหมพักพิง (2549) ว่าเป็นภาวะที่เกิดจากความพึงพอใจในการดำเนินชีวิต และเกิดจากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดี เช่น การมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ซึ่งได้ควบกับแนวคิดสุขภาวะของอดัมส์ นักจิตวิทยาเชื้อสายชาวอเมริกัน ที่ได้ระบุว่า สุขภาวะเป็นความเข้มแข็งที่บุคคลใช้จัดการกับภาวะความเครียดของตัวเอง โดยคนที่มีสุขภาวะจะมีสุขภาพที่ดี
ความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงาน
เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบัน เกิดการแพร่เชื้อของโรคไวรัสโควิด-19 มาเป็นระยะเวลานาน ทำรายได้ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวต่างๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลกระทบต่อรายรับและสภาพจิตใจของผู้คนอย่างชัดเจน
“รายได้ของเรามันไม่พอกับรายจ่ายเลย” เป็นข้อความส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ของ คุณ โรสมาริน กำปะสิทธ์ เธอกล่าวว่า “ตัวเธอนั้นก็เครียดกับปัญหาการเงินเช่นเดียวกัน จึงทำให้เธอต้องทำงาน 2 อาชีพในเวลาเดียวกันกัน และสภาพที่อยู่อาศัยของเธอนั้น ร้านค้าก็เริ่มทยอยปิดตัวลง ทำให้เธอหวั่นใจว่า สักวันหนึ่ง คงจะถึงคราวร้านของเธอเองนั้นเเหละ ที่จะปิดตัวลง
ทางด้านของคุณมิน ให้สัมภาษณ์ว่าเธอมาจากชนเผ่าอาข่า ในจังหวัดเชียงราย ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เธอได้พูดถึงการใช้ชีวิต ตั้งแต่ย้ายเข้ามาจนถึงปัจจุบัน ว่า ช่วงแรกที่เธอมาอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ มันเหมือนกับว่าเธอเป็นคนกลุ่มน้อยที่เข้ากับสังคมได้ยาก รู้สึกแตกต่างจากคนอื่นเหลือเกิน แต่ในเมื่อเธอเลือกที่จะเข้ามาแล้ว เธอจะต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตจากคนบนดอย มาเป็นคนในเมือง เธอจึงได้เริ่มต้นจากการหางานทำ เช่น การทำตุ๊กตาผ้าทำมือ และเมื่อเธอคุ้นชินกับการเข้าหาผู้คนแล้ว เธอจึงได้เปลี่ยนมาชีพมาเดินขายของเล่นเด็ก แต่บางครั้งเธอก็เจอกับลูกค้าที่มองเธอด้วยสายตาแทะโลม จนบางครั้งเธอก็คิดจะเลิกขายและไปทำอาชีพอื่นที่ดีกว่า แต่เธอก็บอกว่างานมันหายาก “สิ่งไหนทนได้ก็ทนเอา”
ความคาดหวังที่ยากจะสมหวังของปุถุชน
คำว่า “ความคาดหวัง” คือ ความเชื่อและความมุ่งหวัง เป็นสิ่งที่ทำให้เราทุกคนรู้สึกมีจุดหมายในชีวิต เพื่อรอคอยสิ่งที่ต้องการหรืออะไรบางอย่าง แต่ในทางกลับกัน บางคนก็คิดว่าการรอคอยนั้นมันนานเกินไป จนทำให้คนบางกลุ่มพยายามจบชีวิตตัวเองลงเหตุเพราะยอมแพ้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันออกไป
จากสัมภาษณ์ของ คุณโรสมาริน กำปะสิทธ์ เธอมีความหวังว่า เธออยากจะให้ประเทศไทย ปลอดเชื้อโรคโควิด-19 อยากให้ลูกค้าของเธอนั้นกลับมาใช้บริการเหมือนเดิม และอยากให้ทางภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเรื่องการกู้ยืมการใช้จ่ายในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เพราะเธอรู้สึกว่า รายได้ที่รับมานั้น ไม่เพียงพอต่อการจับจ่าย เธอหวังเเค่อยากให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นเพียงเท่านั้น
คุณมินกล่าวว่า “ทุกคนที่ทำงานอยู่ก็อยากมีชีวิตดีๆกันทั้งนั้นแหละ” คำพูดเธอนั้นเปรียบเสมือน การพูดแทนใจของกลุ่มชนชั้นแรงงาน ที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น อย่างไรก็ตามคุณมิน ไม่ได้รอคอยความหวังเพียงอย่างเดียว เธอพยายามดิ้นรนและสู้ต่อไป และจะก้าวเดินด้วยลำแข้งของตนเอง แม้จะลำบากอย่างไรก็ตามแต่ เธอเองก็จะทำเพื่อคนที่เธอรัก
ความรักและการเอาใจใส่ของคนที่ไร้โอกาส
ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักคำว่ารัก รักคืออะไร ความรักคือแรงขับเคลื่อนในทุกๆความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นความรักของครอบครัว ของเพื่อน หรือของคนรักเองก็ตาม หลายๆคนได้นิยามคำว่ารักว่าคือการที่ผู้คนมีความรู้สึกพิเศษให้กัน นั้นก็แปลว่ารักได้แล้ว แต่ในทางของนักจิตวิทยา ความรักคือความรู้สึกอยากใกล้ชิด ผูกพัน มีความปรารถนาที่นำไปสู่แรงดึงดูดทางกาย ทำให้คนเราอยากจะอยู่กับใครบางคน และก้าวไปสู่เป้าหมายร่วมกันกับเขา
ความรักนั้นเป็นสิ่งที่ใครๆก็อยากได้รับจากคนรอบข้างของตัวเอง แต่ถ้าผู้ถึงช่วงที่ต้องการความรักมากที่สุดนั้นก็คือวัยทารก เพราะทารกนั้นต้องการความรักเป็นอย่างมาก เขาจะรู้จักอยู่เพียงแค่สองใบหน้าเท่านั้น คือหน้าพ่อกับหน้าแม่ ถ้าทารกถูกดูแลเลี้ยงดูมาเป็นอย่างดี เด็กคนนั้นก็จะมีความกล้า เป็นคนที่มีสภาพจิตที่ปกติ แต่ถ้าหากถูกเลี้ยงดูแบบไม่เอาใจใส่ ก็จะทำให้เด็กคนนั้น มีบาดแผลในใจ ทำให้ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าที่จะเข้าหาผู้คน เพียงเพราะผู้ปกครองไม่สนใจ ปัญหาเหล่านี้ถ้าจะต้องแก้ก็ต้องแก้ที่ตรงปลายเหตุ เพราะถ้าเรารู้ถึงสาเหตุของปัญหาสายเกินไป เราอาจจะทำให้เด็กมีปมติดตัวไปจนโตก็ได้
การเลี้ยงดูที่จะทำให้เด็กมีสุขภาวะที่ดี จะต้องทำตามเงื่อนไขเบื้องต้นดังนี้
1. ไม่ตามใจเขามากจนเกินไป 2. พยายามเข้าใจและคอยดูแลความรู้สึกของเขา 3. ให้คำปรึกษาหรือแนะนำวิธีที่ถูกต้อง 4. สนับสนุนในสิ่งที่ดีต่อตัวเขา 5. ใช้ชีวิตกับเขาให้ได้มากที่สุด เป็นต้น เพื่อให้การเติบโตของเขานั้นมีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ และเพื่อช่วยให้เขาดูแลตัวเองได้บนโลกใบนี้อย่างผาสุก
กับดักความยากจนและการเหลื่อมล่ำจากสภาพวะสังคม
กับดักความยากจน หมายถึง สภาวะที่เราทำงาน เเต่รายได้กลับหดหายน้อยลง กล่าวคือ ยิ่งเราทำงานมากเท่าไหร่ รายได้จะเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ก็ไม่สามารถที่จะลดความยากจนลงได้ เพราะค่าเงินเฟ้อและการบริหารจัดการที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น นายเจษฎา จบใหม่เงินเดือน 15,000 บาท เขาเคยซื้อแมวในราคา 1,500 บาท ได้ 10ตัว แต่ในปัจจุบันได้มีสถานการณ์ที่ทำให้มีจำนวนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาของเเมวจากเดิมตัวละ 1,500 บาท ขึ้นมา 2,000 บาท ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยก็ลดลง แต่เงินเดือนก็ยังคงเท่าเดิม
ผู้คนจำนวนไม่น้อย เกิดในสภาวะที่ตนไม่สามารถเลือกเส้นทางได้ บางคนโชคดีได้เกิดในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคงพร้อมได้รับการสนับสนุน เเต่กลับกันบางคนไม่มีแม้กระทั้งผู้ปกครองที่จะให้คำปรึกษา บางคนมีอาชีพของ บิดา มารดา มารองรับความอยู่รอดของตัวเองในอนาคต ทำให้มีโกกาสในการเติบโตมากกว่าคนอื่น แต่บางคนที่เกิดในชนบท ทางบ้านยากจนหรือมีหนี้สินติดตัว ไม่มีโอกาสได้ลืมตาอ้าปาก เพื่อนบ้านบางคนก็คอยแต่จะบั่นทอนความรู้สึกที่อยู่ภายใจจิตใจ ทำให้ความเป็นอยู่และการทำงานส่วนใหญ่ของคนในชนบท เสียสุขภาพจิตและยังหนีไม่พ้นกับดักความยากจนอยู่ดี
เราจะเห็นได้ว่าผู้คนในตัวเมือง มักจะได้สิทธิในการสนับสนุนที่ดีกว่าคนชนบท ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่ออนาคตของเด็ก ๆ หรือจะเป็นการโอกาสที่ทางภาครัฐจัดให้ แต่คนในชนบทเข้าเข้าถึงได้ยาก การค้าขายของคนชนบทในบางครั้ง ก็ทำรายได้เพียงจุนเจือครอบครัวตัวเองเท่านั้น บางครั้งก็ทำให้คนที่ไม่มีโอกาส หันมาทำมาค้าขายสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือขายในสถานที่ห้ามขาย มันอาจจะเป็นวิธีเดียวที่ทำให้คนไม่มีโอกาสเหล่านี้ได้รับรายได้
ทั้งนี้สังคมในปัจจุบันได้ปิดกั้นโอกาสของใครหลายๆคน เพียงแค่เพราะกลัวจะเสียโอกาสของตัวเองไป หรือไม่อยากเห็นใครอื่นดีเกินหน้าเกินตาตัวเอง ดังนั้นแล้วควรมีหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้ามาจัดสรรค์พื้นที่ให้กับกลุ่มชนชั้นแรงงาน และส่งเสริมปัจจัย 4 และสภาพความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงาน เพื่อให้ผู้คนมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี รวมไปถึงด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เปิดโอกาสให้กับเด็กๆ ได้พัฒนาตัวเองต่อไปในอนาคต.
แหล่งอ้างอิง
The matter. (2016). ‘ความหวัง’ คืออะไร? อยู่อย่างมีหวังได้หรือไม่? ในวันที่บ้านเมืองไร้ซึ่งความหวัง ค้นจาก https://thematter.co/social/hope-in-hopless-world/7408
เมธาวี อื้ออารีย์กุล และ กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์. (2563). สุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัยในที่อยู่อาศัย: การทบทวนวรรณกรรมและข้อเสนอแนะ ค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sarasatr/article/download/240407/168256/
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน สสส. (2563). ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยกับสิทธิมนุษยชน :ความเปราะบางของสังคมในสถานการณ์ปัจจุบันอำนาจ มงคลสืบสกุล ค้นจาก http://ucl.or.th/?p=3472
The standard. (2021). 4 เหตุความเหลื่อมล้ำไทยที่ไม่ได้เกิดจากความ จนแต่ทำให้คนไทยจนลงเรื่อยๆ ค้นจาก https://thestandard.co/4-causes-of-inequality-in-thailand/?fbclid=IwAR1Q2fIRpUFMDqFF0qeq7oCuveM6m1acBV1S4lML8Nz2hQnzpZ1rUQunkd0
The standard. (2019). ความรักคืออะไร? คำถามต่อความปรารถนาเพื่อให้คุณเข้าใจตัวเอง เข้าใจคนรัก และเข้าใจสังคม ค้นจาก https://thestandard.co/what-is-love/
เรื่อง : นรบดี แสนอินทร์
ภาพ : นรบดี แสนอินทร์