มอง LGBTQ+ ผ่าน Soft power ของอุตสาหกรรมบันเทิง

0

Processed with VSCO with t1 preset

เป็นที่น่าสนใจที่ปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาสนใจเรื่องเพศทางเลือกกันมากขึ้น มีการตั้งคำถามและถกเถียง

ประเด็นต่าง ๆ ในโลกอินเทอร์เน็ตมากมาย มีการพูดคุยแรกเปลี่ยนความคิดเห็น จากทั้งในบทความหรือในรายการทีวีต่าง ๆ ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของ LGBTQ+ มากขึ้น และมีการยอมรับเกี่ยวกับเรื่องเพศทางเลือกมากขึ้น โดยที่มีสื่อเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนสังคม

แน่นอนว่ากว่าที่ผู้คนจะหันมายอมรับนั้น ก็ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องที่ยากอยู่พอสมควร ในการที่จะผ่าน

อุปสรรคที่ความไม่เข้าใจ และกรอบความคิดแบบเดิม ๆ กว่าที่จะสื่อต่าง ๆ กล้าที่จะเสนอเรื่องของเพศที่3 ออกมาแบบในปัจจุบันก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะในสังคมไทยของเรา ถึงแม้จะบอกว่ามีการยอมรับมานาน หรือบอกว่าดีกว่าประเทศอื่นที่เขาไม่ยอมรับกันสักแค่ไหน แต่ก็ไม่ได้มีความเข้าใจ และไม่ได้มีการเคารพเพศที่3 เท่ากับปัจจุบัน

Processed with VSCO with t1 preset
Processed with VSCO with t1 preset

ขอบคุณภาพจากภาพยนตร์รักแห่งสยาม

สื่อบันเทิง LGBTQ+ ในยุคบุกเบิก 

ย้อนกลับไปในสมัยยุคของปี 2550 ได้มีหนังรักอย่าง “รักแห่งสยาม” เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ถือได้ว่า

เป็นหนัง LGBTQ+ ของไทยในยุคแรก ๆ เลยก็ว่าได้ ที่ได้หยิบยกเอาเรื่องราวความรักในหลายแง่มุมออกมานำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นความรักในครอบครัว ความรักแบบหนุ่มสาว หรือความรักแบบชายรักชาย ซึ่งในสมัยนั้นหนังเรื่องนี้ก็เป็นที่จดจำจากสังคม และก็เป็นที่ถกเถียงอยู่ไม่น้อย

ทั้งก่อนและหลังที่หนัง “รักแห่งสยาม” จะเข้าฉาย ก็มีหนังที่เกี่ยวกับ LGBTQ+ ออกมาเผยแพร่อยู่

เรื่อย ๆ อาทิเช่น เพลงสุดท้าย สตรีเหล็ก ปล้นนะยะ ซึ่งส่วนใหญ่หนังที่เกี่ยวกับเพศที่3 ในสมัยนั้นมักจะนำเสนอเรื่องราวไปในทางที่ตลกหรือเป็นโศกนาฏกรรมอยู่เสมอ หนังเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ความจริงแล้วภาพยนตร์หรือสื่อที่เกี่ยวข้องกับ LGBTQ+ เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ในสมัยก่อนสังคมยังตีกรอบและตีความเพศที่3 ว่าเป็นตัวตลกหรือออกแบบตัวละครให้เพศที่3 มีชีวิตความรักที่ไม่สมหวัง

Processed with VSCO with t1 preset
Processed with VSCO with t1 preset

ขอบคุณภาพจากซีรีย์เพราะเราคู่กัน

สื่อ LGBTQ+ ในยุคโลกาภิวัฒน์

ในยุคปัจจุบัน ได้เกิดการตีความรูปแบบใหม่เกี่ยวกับเพศที่3 ที่สื่อทางด้านบันเทิงได้หยิบยกเรื่องเพศที่3 

ออกมาตีความใหม่อีกครั้ง โดยยกเรื่องราวของชายรักชาย ออกมาเผยแพร่มากขึ้น อาทิเช่น ภาพยนตร์เรื่องดิวไปด้วยกันนะ ซีรีย์เรื่องแปลรักฉันด้วยใจเธอ หรือซีรีย์เรื่องเพราะเราคู่กัน ซึ่งซีรีย์และภาพยนตร์เหล่านี้ก็มีกระแสตอบรับที่ดี และเป็นที่พูดถึงในสังคมอย่างมาก ทำให้ผู้คนได้ถกเถียงเกี่ยวเรื่องของเพศทางเลือกมากขึ้น

นอกจากการที่ซีรีย์หรือภาพยนตร์เหล่านั้นขายภาพลักษณ์ที่น่าดึงดูดของนักแสดงแล้ว ยังเป็นการสร้าง

บทบาทในรูปแบบใหม่ของเพศทางเลือก จากที่แต่ก่อนตัวละครมักมีความรักที่ไม่สมหวัง หรือมักจะกลายเป็นตัวตลก แต่ตอนนี้เนื้อเรื่องเหล่านั้นกลับแทนที่ด้วยความเป็นจริงมากขึ้น กล่าวถึงชีวิตจริงมากขึ้น และมองความรักของเพศที่3 ว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และไร้ขอบเขต มีการเพิ่มเติมความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตจริงมากขึ้น

ถึงแม้จะขายความเป็นคู่จิ้นของนักแสดงเพื่อเรียกกระแส แต่ต้องยอมรับว่ากระแสเหล่านั้นทำให้ผู้คน

หันกลับมามองว่าภาพยนตร์หรือซีรีย์แบบชายรักชาย หรือเพศทางเลือกนั้น ก็เป็นเรื่องราวปกติที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้ผู้คนได้หันมาตระหนักคิดถึงสังคมในปัจจุบันมากขึ้น และทำให้มีการยอมรับเรื่องเพศที่3 มากขึ้นกว่าเดิม และนอกจากนี้ยังมองเรื่องค่านิยมของความรักระหว่างเพศที่3 เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนที่มองว่าฉาบฉวย และต้องมีจุดจบที่เป็นโศกนาฏกรรม แต่ตอนนี้กลับมองว่าเป็นความรักที่คล้ายกับหนุ่มสาวธรรมดาทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นค่านิยมใหม่ที่เกิดขึ้น

Processed with VSCO with t1 preset
Processed with VSCO with t1 preset

ขอบคุณภาพจากช่อง Youtube Koendanai

ไม่ใช่แค่สื่อในรูปแบบของภาพยนตร์และละคร หรือซีรีย์แต่เพียงเท่านั้น แต่สื่อออนไลน์อย่าง Youtube 

ก็เริ่มมีการเผยแพร่เรื่องราวของเพศที่3 มากขึ้น ผู้คนที่เป็น Youtuber เริ่มหันมาทำคอนเทนท์ที่เกี่ยวกับเพศทางเลือก มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ LGBTQ+ ทั้งในด้านของประสบการณ์และความรู้ เช่น ช่อง Youtube ของคุณเขื่อน ดนัย สมาชิกเก่าวง K-OTIC ที่ปัจจุบันหันมาทำคอนเทนท์เกี่ยวเพศทางเลือก ซึ่งผลตอบรับก็เป็นไปในทางที่ดี นอกจากนี้ผู้คนในวงการบันเทิงที่เป็น LGBTQ+ ก็เริ่มที่จะหันมารณรงค์เกี่ยวกับเพศทางเลือกกันมากขึ้น 

การที่สื่อหรือวงการบันเทิงได้ออกมายอมรับในเรื่องของเพศที่3 มากขึ้น ก็ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนสังคม

ในอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะสื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อความต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้รับรู้ เพราะฉะนั้นการที่มีสื่อในเรื่องของเพศที่3 ก็ส่งอิทธิพลให้ผู้คนในสังคมเริ่มหันมายอมรับ และเข้าใจในเพศที่3 มากขึ้น มองเรื่องของเพศเป็นเรื่องปกติ เริ่มให้เกียรติและเคารพในตัวของบุคคล มากกว่าที่จะมองว่าเป็นเพศอะไร

การตีความในปัจจุบันก็เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่อนาคตในรูปแบบใหม่ เฉกเช่นสื่อเพศที่3 ในสมัยก่อน ที่เป็น

จุดเริ่มต้น ให้คนหันมาสนใจในเรื่องของเพศ LGBTQ+ เพิ่มขึ้น ซึ่งตอนนี้พวกเราก็คงได้คำตอบเกี่ยวกับคำว่าเพศกันบ้างแล้ว ว่า “เพศ” นั้นไร้ซึ่งขอบเขตและไม่มีเกณฑ์ใด ๆ ที่จะไปกำหนดว่าพวกเขาเป็นเพศไหน หรือรสนิยมทางเพศเป็นอย่างไร และกรอบของขนบธรรมเนียมเดิมก็กำลังที่จะสูญหายไป มีเพียงแค่ตัวตนของเราเท่านั้นที่กำหนดได้ว่าเราคือใคร 

แหล่งอ้างอิง 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *