ปรับความคิด ‘กระท่อม’ พืชสร้างชีวิต

0

“ยัน” หมายถึงความรู้สึกคงกระพัน มักใช้กับอาการที่เกิดจากการกินพืชกระท่อมที่มีคุณสมบัติในการทำให้ร่างกายทนทานต่อเเดด ไม่ร้อน ไม่เหนื่อย เป็นภาษาปากที่ผู้คนใช้กันในภาคใต้ เนื่องจาก ไมทราไจนีน เป็นสารที่ช่วยให้ผู้ได้รับไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งคล้ายกับมอฟีนเเต่ไม่ส่งผลกระทบในด้านอาการหลอนประสาท อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการต้านทานอาการร้อนจากเเสงแดด ตื่นตัว เเละอาการลำไส้ต่างๆ ไมทราไจนีนสามารถพบได้เฉพาะในพืชกระท่อม และย้ำว่าการออกฤทธิ์อาการจะไม่ได้รุนแรงเหมือนที่เห็นในสื่อต่างๆ สังคมชอบนิยามกระท่อมให้เป็นสารเสพติด ส่วนใหญ่มักเป็นการแสดงเพื่อสร้างภาพเท่านั้น

สร้างชีวิต กำไรคร่าวๆ จากการขายกระท่อมเหยียบถึงหลักเเสนบาท หลังจากที่ปลดข้อกฎหมาย กระท่อมสามารถขายได้ดีกว่าเดิม เเต่การหาผู้ส่งนั้นยากกว่าเดิมจากแต่ก่อน เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการปลูกพืชกระท่อมที่เป็นสวนอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกแบบครัวเรือนจึงต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อบ้าน

มุมมองต่อกฎหมายเเละอนาคตของตัวพี่จอน

“ขอขอบคุณการปลดข้อกฎหมายที่ห้าม ที่สร้างอาชีพให้ผมเเละหลายๆคน อีกทั้งสิ่งที่สำคัญการรักษาในครัวเรื่อนที่เป็นสมุนไพรที่มีเเต่ข้อดีเเต่ไม่มีใครมองเห็น”

สุดท้ายนี้ การออกฤธิ์ของกระท่อมในเเต่ละคนจะไม่เท่ากัน กระท่อมเหมือนสิ่งที่กระตุ้นเเล้วคนที่ควรหยุดคือผู้ที่บริโภค ดั้งนั้นอยากให้ทุกคนรู้จักการบริโภคอย่างพอดีไม่มากเกินความจำเป็น เพราะไม่มีใครบอกว่าจะหยุดได้เมื่อไหร่นอกจากตัวคุณเอง

เรื่อง : ธราเทพ ชาญวิชัย

เขียน : กันต์ธร ก้อนเเก้ว

ภาพ : นรบดี แสนอินทร์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *